วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัฒน์

ในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์อย่างเต็มที่โดยจะเห็นได้จากการที่มีการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก จากการที่มีการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศให้ลดน้อยลงไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรหรือการยกเลิกมาตรการโควตาการนำเข้าต่างๆตามกฎขององค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ดูแลเรื่องการจัดการการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างเสรีและให้ความเท่าเทียมกันแก่ประเทศสมาชิกทุกประเทศ อีกทั้งเทคโนโลยีในการขนส่งได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะทางบก ทางอากาศ หรือทางน้ำ ทำให้สามรถประหยัดเวลาและต้นทุนทั้งในด้านการขนส่งสินค้าและทางด้านการเดินทางระหว่างประเทศ การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่ได้เกิดขึ้นในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถส่งผ่านข้อมูลต่างๆข้ามพรมแดนประเทศได้อย่างสะดวกใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที ทำให้การเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ใหม่ๆสามารถทำได้ง่ายมากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศน และการสื่อสาร โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ทในปัจจุบัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในยุคโลกาภิวัฒน์นี้โลกเสมือนได้ย่อขนาดของตัวเองให้เล็กลงจากการที่มนุษย์สามารถเดินทางหรือติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูล และทำการค้าระหว่างกันจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้อย่างง่ายดาย
การก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์นั้นเริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการใช้นโยบายการค้าเสรีของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการนำเอาเครื่องจักรไอน้ำเข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการทอผ้าและการเปิดเสรีทางการค้าทำให้อังกฤษสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้โดยปราศจากภาษีทำให้มีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ต่ำจึงสามารถผลิตสินค้าออกไปจำหน่ายในตลาดโลกได้ในราคาที่ถูกกว่าประเทศอื่น จึงส่งผลให้ประเทศอื่นเริ่มมีการคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆเพื่อช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศเป็นระบบการค้าเสรีเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศซึ่งจะทำให้แต่ละประเทศเลือกที่จะผลิตสินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบเชิงสัมพัทธ์(Comparative Advantage) ตามทฤษฎีของริคาร์โด ซึ่งจะเป็นการช่วยให้มีการผลิตสินค้าในระบบเศรษฐกิจของโลกเพิ่มมากขึ้นจากการที่แต่ละประเทศผลิตสินค้าที่ตนเองมีความถนัด
ภายหลังจากการปฏิวัติอุสาหกรรมทำให้สามารถผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและการขนส่งขึ้น เพื่อให้สามรถขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตและประหยัดเวลาในการขนส่งเพื่อหาตลาดในประเทศใหม่ที่อยู่ห่างไกลออกไปในการจำหน่ายสินค้าที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น การใช้เรือเดินสมุทรขนส่งสินค้าข้ามทวีป การสร้างทางรถไฟในการขนส่งสินค้า
เมื่อมีความก้าวหน้าทางด้านการขนส่งแล้วจึงมีการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสาร มีการใช้เทคโนโลยีในในการสื่อสารสมัยใหม่เข้ามาเชื่อมโลกโดยเริ่มจากการใช้การส่งโทรเลข การใช้โทรศัพท์พื้นฐาน และเปลี่ยนมาใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการเข้ามาของระบบอินเตอร์เน็ทที่สามรถเชื่อมโยงข้อมูลในทุกมุมโลกเข้าไว้ได้ด้วยกัน ส่งผลให้การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆในโลกยุคโลกาภิวัฒน์สามารถทำได้อย่างรวดเร็วแม้ว่าจะอยู่ห่างกันคนละประเทศหรือคนละทวีป
จากการที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในการขนส่งและการสื่อสารและการลดอุปสรรคทางด้านการค้าและการลงทุน ก่อให้เกิดการแข่งขันกันในด้านการผลิตและเกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนและปัจจัยในการผลิตได้อย่างเสรี เนื่องจากมีการแข่งขันกันในด้านการผลิตสินค้าดังนั้นจึงต้องมีการเคลื่อนย้ายการลงทุนไปยังแหล่งที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ อาทิต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ต่ำหรือมีทรัพยากรในการผลิตที่มีปริมาณมาก โดยเป็นผลมาจากการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี อีกทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยีในการผลิตสามารถทำได้ง่าย ดังนั้นการตั้งบริษัทลูกขึ้นต่างประเทศจึงสามารถทำได้ง่ายและใช้เทคโนโลยีในการผลิตจากบริษัทแม่ได้จากการทีการส่งผ่านข้อมูลสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วจากการส่งผ่านข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่จะสามารถแข่งขันได้ในสภาพเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์นี้ได้
ดังนั้นเราจึงสามารถสรุปถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโลกยุคโลกาภิวัฒน์ขึ้นมาได้ดังนี้คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการขนส่งและการสื่อสารส่งผลให้ต้นทุนในการติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมข้ามประเทศมีต้นทุนที่ลดน้อยลง มีการลดอุปสรรคทางกาค้าระหว่างประเทศลงตามหลักการขององค์การการค้าโลกทั้งอุปสรรคทางด้านภาษีและที่มิใช่ภาษี ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้นั้นได้เป็นตัวกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเดียวกันทั่วทุกมุมโลก
เมื่อโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์แล้วดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ในยุคโลกาภิวัฒน์นี้คือรัฐบาลจะต้องเข้ามาพัฒนาปัจจัยพื้นฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา การคมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และควรจะลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ว่าจะเป็นทางด้านการให้การศึกษาอย่างทั่วถึง การให้บริการทางสาธารณสุข และการส่งเสริมในด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิต
นอกเหนือจากการที่รัฐบาลนั้นจะต้องให้การสนับสนุนทางด้านการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการลงทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในประเทศแล้วนั้น รัฐบาลควรที่จะมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัฒน์
มาตรการแปรรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นอาจจะทำได้ดังนี้คือ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือการเจราจาเปิดการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยเร่งรัดในการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศลง เป็นการกระตุ้นในเกิดการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งกระตุ้นให้มีการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เพื่อที่จะนำไปสู่การแข่งขันในการผลิตสินค้าและบริการขึ้นในประเทศ ทำให้เกิดการคิดค้นและวิวัฒนาการสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในการผลิตใหม่ๆเพื่อเข้ามาช่วยในการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น หรือคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานที่รัฐตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยปราศจากคู่แข่งทำให้ไม่เกิดการแข่งขันขึ้น ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตและการให้บริการ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการผูกขาดขึ้นในตลาด อีกทั้งการที่เป็นองค์กรที่มีรัฐเข้ามาดูแลทำให้การบริหารงานนั้นเชื่องช้า ดังนั้นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจควรจะได้รับการแปรรูปเพื่อให้มีการบริหารงานที่คล่องตัวในรูปแบบเอกชน และเปิดให้มีการแข่งขันโดยให้เอกชนรายอื่นๆได้เข้ามาแข่งขันในตลาดเพิ่มมากขึ้น ยกเลิกระบบการผูกขาดในรูปแบบการให้สัมปทาน ตัวอย่างรัฐวิสาหกิจที่ควรได้รับการแปรรูปของไทยก็คือกิจการรถไฟไทย เนื่องจากรถไฟเป็นการขนส่งทางบกระบบรางที่สามารถขนส่งสินค้าได้ในปริมาณที่มากและใช้เวลาในการขนส่งรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการประหยัดพลังงานในสภาวะที่โลกต้องประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นกลับเป็นองค์กรที่ไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน มีการดำเนินงานที่ขาดทุนมาตลอด ขาดการพัฒนาองค์กรตัวอย่างเช่นยังใช้ระบบรถไฟรางเดียวมาตั้งแต่เริ่มกิจการครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการที่ไม่มีคู่แข่งเข้ามาแข่งขันทำให้ไม่ต้องพัฒนาองค์กรเพื่อแข่งขันกับผู้อื่น อีกทั้งหากมีการขาดทุนองค์กรก็ยังคงอยู่ได้เนื่องจากการที่มีรัฐเข้ามาดูแลให้การสนับสนุน ดังนั้นจึงจะต้องเร่งเข้ามาแปรรูปการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อที่จะสามารถใช้ในการให้บริการด้านการคมนาคมขนส่งระบบรางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
การยกระดับการผลิตภายในประเทศไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมากขึ้น โดยการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีหนาแน่นเช่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีความรู้หนาแน่น เน้นให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาและใช้ในอุตสาหกรรม และควรมีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาออกมาเพื่อคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากหากว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์กันมากจะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์นั้นจะเสียประโยชน์ส่งผลให้ไม่มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา
การเปิดเสรีทางการเงินก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเพื่อตอบรับกระแสโลกาภิวัฒน์เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนภาคเอกชนได้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างหลากหลายทั้งสถาบันการเงินภายในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างสถาบันการเงินในการให้บริการทางการเงินเพิ่มมากขึ้น และเป็นแรงกระตุ้นให้สถาบันการเงินต่างๆเหล่านี้คิดค้นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆออกมาเพื่อเอานวยความสะดวกทางด้านธุรกรรมทางการเงินอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดการผูกขาดในระบบสถาบันการเงินของไทย แต่รัฐบาลหรือธนาคารแห่งประเทศไทยก็ควรที่จะมีมาตรการที่คอยดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด ควบคุมการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงทางการเงินที่สูงมากเกินไปเพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการล้มละลายของสถาบันการเงินอันจะนำไปสู่การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นมาได้
นอกเหนือไปจากการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของรัฐบาลดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น รัฐบาลควรที่จะมีการปฏิรูปการดำเนินนโยบายการคลังอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายการคลังแบบสมดุล ภาครัฐไม่ควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวในระบบเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากจะเป็นการเข้าไปแย่งทรัพยากรในการผลิตสินค้าจากภาคเอกชน รัฐมีหน้าที่เพียงการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันอย่างแท้ จริงไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ การปฏิรูประบบภาษีจากปัจจุบันที่มีฐานภาษีที่แคบดังนั้นจึงมีการเก็บภาษีได้จากคนบางกลุ่มเท่านั้นทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง หากมีการขยายฐานภาษีออกไปได้กว้างจะทำให้มีการเก็บภาษีได้มากและลดอัตราการเสียภาษีที่สูงให้น้อยลงได้ เป็นตัวกระตุ้นในเกิดความน่าสนใจในการลงทุนภายในประเทศ
แต่กระแสโลกาภิวัฒน์ย่อมมีผู้ที่ได้รับประโยชน์และผู้ที่เสียประโยชน์ ดังนั้นรัฐก็ควรที่จะมีมาตรการเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบจากกระแสโลกาภิวัตน์นี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นในการเปิดเขตเสรีการค้ากับประเทศจีน เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในภาคเหนือได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในประเทศจีนได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาใช้มาตรกาให้ความช่วยเหลือเช่น การปรับโครงสร้างการผลิตกระเทียมโดยเปลี่ยนให้เกษตรกรที่ปลูกกระเทียมในพื้นที่ที่ไม่สามารถแข่งขันได้เปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่นแทนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถปรับตัวแข่งขันได้
ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์แล้วจะทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกันระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น เสมือนทำให้เกิดเป็นเพียงตลาดเดียวภายในโลกนี้ เป็นโลกยุคไร้พรมแดน เนื่องจากการผลิต การค้า การลงทุน การเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีการผลิตต่างๆ สามารถทำการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อโลกได้ก้าวเข้าสู่ระบบที่มีตลาดเดียวทำให้เกิดการแข่งขันกันในการผลิตสินค้าและบริการ ลดการผูกขาดลง นำไปสู่สภาวะที่เข้าใกล้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถใช้กฎอุปสงค์อุปทานในการกำหนดราคาสินค้าได้อย่างสมบูรณ์ ลดการได้รับกำไรส่วนเกินจากผู้ผลิตคงเหลือเพียงแต่กำไรตามปกติ ประชาชนผู้บริโภคเป็นผู้ได้รับประโยชน์ เกิดความกินดีอยู่ดีขึ้นภายในสังคมโลก เพราะฉะนั้นแล้วประเทศไทยจึงควรเตรียมพร้อมปฏิรูประบบเศรษฐกิจต้อนระบบกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ เพื่อที่จะได้ตักตวงผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกยุคโลกาภิวัฒน์ของระบบเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัฒน์

ในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์อย่างเต็มที่โดยจะเห็นได้จากการที่มีการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก จากการที่มีการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศให้ลดน้อยลงไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรหรือการยกเลิกมาตรการโควตาการนำเข้าต่างๆตามกฎขององค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ดูแลเรื่องการจัดการการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างเสรีและให้ความเท่าเทียมกันแก่ประเทศสมาชิกทุกประเทศ อีกทั้งเทคโนโลยีในการขนส่งได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะทางบก ทางอากาศ หรือทางน้ำ ทำให้สามรถประหยัดเวลาและต้นทุนทั้งในด้านการขนส่งสินค้าและทางด้านการเดินทางระหว่างประเทศ การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่ได้เกิดขึ้นในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถส่งผ่านข้อมูลต่างๆข้ามพรมแดนประเทศได้อย่างสะดวกใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที ทำให้การเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ใหม่ๆสามารถทำได้ง่ายมากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศน และการสื่อสาร โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ทในปัจจุบัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในยุคโลกาภิวัฒน์นี้โลกเสมือนได้ย่อขนาดของตัวเองให้เล็กลงจากการที่มนุษย์สามารถเดินทางหรือติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูล และทำการค้าระหว่างกันจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้อย่างง่ายดาย
การก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์นั้นเริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการใช้นโยบายการค้าเสรีของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการนำเอาเครื่องจักรไอน้ำเข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการทอผ้าและการเปิดเสรีทางการค้าทำให้อังกฤษสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้โดยปราศจากภาษีทำให้มีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ต่ำจึงสามารถผลิตสินค้าออกไปจำหน่ายในตลาดโลกได้ในราคาที่ถูกกว่าประเทศอื่น จึงส่งผลให้ประเทศอื่นเริ่มมีการคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆเพื่อช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศเป็นระบบการค้าเสรีเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศซึ่งจะทำให้แต่ละประเทศเลือกที่จะผลิตสินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบเชิงสัมพัทธ์(Comparative Advantage) ตามทฤษฎีของริคาร์โด ซึ่งจะเป็นการช่วยให้มีการผลิตสินค้าในระบบเศรษฐกิจของโลกเพิ่มมากขึ้นจากการที่แต่ละประเทศผลิตสินค้าที่ตนเองมีความถนัด
ภายหลังจากการปฏิวัติอุสาหกรรมทำให้สามารถผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและการขนส่งขึ้น เพื่อให้สามรถขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตและประหยัดเวลาในการขนส่งเพื่อหาตลาดในประเทศใหม่ที่อยู่ห่างไกลออกไปในการจำหน่ายสินค้าที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น การใช้เรือเดินสมุทรขนส่งสินค้าข้ามทวีป การสร้างทางรถไฟในการขนส่งสินค้า
เมื่อมีความก้าวหน้าทางด้านการขนส่งแล้วจึงมีการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสาร มีการใช้เทคโนโลยีในในการสื่อสารสมัยใหม่เข้ามาเชื่อมโลกโดยเริ่มจากการใช้การส่งโทรเลข การใช้โทรศัพท์พื้นฐาน และเปลี่ยนมาใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการเข้ามาของระบบอินเตอร์เน็ทที่สามรถเชื่อมโยงข้อมูลในทุกมุมโลกเข้าไว้ได้ด้วยกัน ส่งผลให้การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆในโลกยุคโลกาภิวัฒน์สามารถทำได้อย่างรวดเร็วแม้ว่าจะอยู่ห่างกันคนละประเทศหรือคนละทวีป
จากการที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในการขนส่งและการสื่อสารและการลดอุปสรรคทางด้านการค้าและการลงทุน ก่อให้เกิดการแข่งขันกันในด้านการผลิตและเกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนและปัจจัยในการผลิตได้อย่างเสรี เนื่องจากมีการแข่งขันกันในด้านการผลิตสินค้าดังนั้นจึงต้องมีการเคลื่อนย้ายการลงทุนไปยังแหล่งที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ อาทิต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ต่ำหรือมีทรัพยากรในการผลิตที่มีปริมาณมาก โดยเป็นผลมาจากการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี อีกทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยีในการผลิตสามารถทำได้ง่าย ดังนั้นการตั้งบริษัทลูกขึ้นต่างประเทศจึงสามารถทำได้ง่ายและใช้เทคโนโลยีในการผลิตจากบริษัทแม่ได้จากการทีการส่งผ่านข้อมูลสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วจากการส่งผ่านข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่จะสามารถแข่งขันได้ในสภาพเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์นี้ได้
ดังนั้นเราจึงสามารถสรุปถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโลกยุคโลกาภิวัฒน์ขึ้นมาได้ดังนี้คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการขนส่งและการสื่อสารส่งผลให้ต้นทุนในการติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมข้ามประเทศมีต้นทุนที่ลดน้อยลง มีการลดอุปสรรคทางกาค้าระหว่างประเทศลงตามหลักการขององค์การการค้าโลกทั้งอุปสรรคทางด้านภาษีและที่มิใช่ภาษี ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้นั้นได้เป็นตัวกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเดียวกันทั่วทุกมุมโลก
เมื่อโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์แล้วดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ในยุคโลกาภิวัฒน์นี้คือรัฐบาลจะต้องเข้ามาพัฒนาปัจจัยพื้นฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา การคมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และควรจะลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ว่าจะเป็นทางด้านการให้การศึกษาอย่างทั่วถึง การให้บริการทางสาธารณสุข และการส่งเสริมในด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิต
นอกเหนือจากการที่รัฐบาลนั้นจะต้องให้การสนับสนุนทางด้านการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการลงทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในประเทศแล้วนั้น รัฐบาลควรที่จะมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัฒน์
มาตรการแปรรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นอาจจะทำได้ดังนี้คือ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือการเจราจาเปิดการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยเร่งรัดในการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศลง เป็นการกระตุ้นในเกิดการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งกระตุ้นให้มีการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เพื่อที่จะนำไปสู่การแข่งขันในการผลิตสินค้าและบริการขึ้นในประเทศ ทำให้เกิดการคิดค้นและวิวัฒนาการสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในการผลิตใหม่ๆเพื่อเข้ามาช่วยในการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น หรือคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานที่รัฐตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยปราศจากคู่แข่งทำให้ไม่เกิดการแข่งขันขึ้น ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตและการให้บริการ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการผูกขาดขึ้นในตลาด อีกทั้งการที่เป็นองค์กรที่มีรัฐเข้ามาดูแลทำให้การบริหารงานนั้นเชื่องช้า ดังนั้นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจควรจะได้รับการแปรรูปเพื่อให้มีการบริหารงานที่คล่องตัวในรูปแบบเอกชน และเปิดให้มีการแข่งขันโดยให้เอกชนรายอื่นๆได้เข้ามาแข่งขันในตลาดเพิ่มมากขึ้น ยกเลิกระบบการผูกขาดในรูปแบบการให้สัมปทาน ตัวอย่างรัฐวิสาหกิจที่ควรได้รับการแปรรูปของไทยก็คือกิจการรถไฟไทย เนื่องจากรถไฟเป็นการขนส่งทางบกระบบรางที่สามารถขนส่งสินค้าได้ในปริมาณที่มากและใช้เวลาในการขนส่งรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการประหยัดพลังงานในสภาวะที่โลกต้องประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นกลับเป็นองค์กรที่ไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน มีการดำเนินงานที่ขาดทุนมาตลอด ขาดการพัฒนาองค์กรตัวอย่างเช่นยังใช้ระบบรถไฟรางเดียวมาตั้งแต่เริ่มกิจการครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการที่ไม่มีคู่แข่งเข้ามาแข่งขันทำให้ไม่ต้องพัฒนาองค์กรเพื่อแข่งขันกับผู้อื่น อีกทั้งหากมีการขาดทุนองค์กรก็ยังคงอยู่ได้เนื่องจากการที่มีรัฐเข้ามาดูแลให้การสนับสนุน ดังนั้นจึงจะต้องเร่งเข้ามาแปรรูปการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อที่จะสามารถใช้ในการให้บริการด้านการคมนาคมขนส่งระบบรางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
การยกระดับการผลิตภายในประเทศไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมากขึ้น โดยการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีหนาแน่นเช่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีความรู้หนาแน่น เน้นให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาและใช้ในอุตสาหกรรม และควรมีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาออกมาเพื่อคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากหากว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์กันมากจะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์นั้นจะเสียประโยชน์ส่งผลให้ไม่มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา
การเปิดเสรีทางการเงินก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเพื่อตอบรับกระแสโลกาภิวัฒน์เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนภาคเอกชนได้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างหลากหลายทั้งสถาบันการเงินภายในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างสถาบันการเงินในการให้บริการทางการเงินเพิ่มมากขึ้น และเป็นแรงกระตุ้นให้สถาบันการเงินต่างๆเหล่านี้คิดค้นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆออกมาเพื่อเอานวยความสะดวกทางด้านธุรกรรมทางการเงินอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดการผูกขาดในระบบสถาบันการเงินของไทย แต่รัฐบาลหรือธนาคารแห่งประเทศไทยก็ควรที่จะมีมาตรการที่คอยดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด ควบคุมการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงทางการเงินที่สูงมากเกินไปเพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการล้มละลายของสถาบันการเงินอันจะนำไปสู่การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นมาได้
นอกเหนือไปจากการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของรัฐบาลดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น รัฐบาลควรที่จะมีการปฏิรูปการดำเนินนโยบายการคลังอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายการคลังแบบสมดุล ภาครัฐไม่ควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวในระบบเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากจะเป็นการเข้าไปแย่งทรัพยากรในการผลิตสินค้าจากภาคเอกชน รัฐมีหน้าที่เพียงการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันอย่างแท้ จริงไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ การปฏิรูประบบภาษีจากปัจจุบันที่มีฐานภาษีที่แคบดังนั้นจึงมีการเก็บภาษีได้จากคนบางกลุ่มเท่านั้นทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง หากมีการขยายฐานภาษีออกไปได้กว้างจะทำให้มีการเก็บภาษีได้มากและลดอัตราการเสียภาษีที่สูงให้น้อยลงได้ เป็นตัวกระตุ้นในเกิดความน่าสนใจในการลงทุนภายในประเทศ
แต่กระแสโลกาภิวัฒน์ย่อมมีผู้ที่ได้รับประโยชน์และผู้ที่เสียประโยชน์ ดังนั้นรัฐก็ควรที่จะมีมาตรการเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบจากกระแสโลกาภิวัตน์นี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นในการเปิดเขตเสรีการค้ากับประเทศจีน เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในภาคเหนือได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในประเทศจีนได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาใช้มาตรกาให้ความช่วยเหลือเช่น การปรับโครงสร้างการผลิตกระเทียมโดยเปลี่ยนให้เกษตรกรที่ปลูกกระเทียมในพื้นที่ที่ไม่สามารถแข่งขันได้เปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่นแทนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถปรับตัวแข่งขันได้
ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์แล้วจะทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกันระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น เสมือนทำให้เกิดเป็นเพียงตลาดเดียวภายในโลกนี้ เป็นโลกยุคไร้พรมแดน เนื่องจากการผลิต การค้า การลงทุน การเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีการผลิตต่างๆ สามารถทำการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อโลกได้ก้าวเข้าสู่ระบบที่มีตลาดเดียวทำให้เกิดการแข่งขันกันในการผลิตสินค้าและบริการ ลดการผูกขาดลง นำไปสู่สภาวะที่เข้าใกล้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถใช้กฎอุปสงค์อุปทานในการกำหนดราคาสินค้าได้อย่างสมบูรณ์ ลดการได้รับกำไรส่วนเกินจากผู้ผลิตคงเหลือเพียงแต่กำไรตามปกติ ประชาชนผู้บริโภคเป็นผู้ได้รับประโยชน์ เกิดความกินดีอยู่ดีขึ้นภายในสังคมโลก เพราะฉะนั้นแล้วประเทศไทยจึงควรเตรียมพร้อมปฏิรูประบบเศรษฐกิจต้อนระบบกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ เพื่อที่จะได้ตักตวงผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกยุคโลกาภิวัฒน์ของระบบเศรษฐกิจโลก

กองทัพสำรองผู้ว่างงานและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของระบบทุนนิยม

จากหนังสือ Capital : A Critique of Political Economy, Volume One ของคาร์ล มาร์กซ ในบทที่ 25 เรื่องกฎทั่วไปของการสะสมทุน(The General Law of Capitalist Accumulation) สามารถสรุปเนื้อหาของบทนี้ได้ดังนี้คือ มาร์กซได้แบ่งทุนออกเป็นสองชนิดคือ ทุนคงที่(Constant Capital) ใช้ในการลงทุนในปัจจัยการผลิตต่างๆเช่นวัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์จากผลิตต่างๆ โรงงาน ซึ่งจะไม่สามารถก่อให้เกิดมูลค่าส่วนเพิ่มได้ เป็นเพียงส่วนประกอบในการผลิต และทุนแปรผัน(Variable Capital)ใช้ในการลงทุนจ้างแรงงาน หรืออาจกล่าวได้อีกแบบว่าเป็นการซื้อพลังแรงงานเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งพลังแรงงานที่ได้จากแรงงานนี้จะเป็นตัวสร้างมูลค่าส่วนเพิ่มและจะช่วยสร้างการสะสมทุนของนายทุนต่อๆไป
ในการผลิตสินค้านั้นจะใช้ปัจจัยทุนทั้งสองอย่างในการผลิตคือทั้งปัจจัยคงที่และปัจจัยแปรผัน ซึ่งมูลค่าของผลผลิตที่ผลิตออกมาได้จะเป็นมูลค่าได้การแลกเปลี่ยนใหม่ โดยที่มูลค่าใหม่นี้จะประกอบไปด้วย มูลค่าทดแทนและมูลค่าส่วนเกิน ดังนั้นการผลิตสินค้าเป็นวัฏจักรต่อไปเรื่อยๆทำให้มีมูลค่าส่วนเกินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นายทุนสามารถสะสมทุนเพิ่มมากขึ้นจากการที่เกิดมูลค่าส่วนเกินนี้ในการผลิตสินค้า แต่ผลตอบแทนที่แรงงานได้รับจากการขายพลังแรงงานของพวกเขาซึ่งก็คือค่าจ้าง นายทุนได้จ่ายค่าจ้างให้แก่แรงงานน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่เขาสามารถผลิตได้นั่นก็คือจ่ายค่าจ้างเท่ากับมูลค่าทดแทนส่วนมูลค่าส่วนเกินนั้นตกไปสู่นายทุน
มากร์ซเชื่อว่าเมื่อมีการสะสมของทุนที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้นายทุนต้องการปัจจัยแรงงานในการผลิตเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงมีการจ้างแรงานงานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากองค์ประกอบอินทรีย์ของทุนหรือ organic composition of capital คืออัตราส่วนระหว่างทุนคงที่และทุนแปรผันซึ่งก็คือแรงงานมีลักษณะคงที่(อีกนัยหนึ่งคือเทคโนโลยีในการผลิตมีลักษณะคงที่) เมื่อมีปริมาณความต้องการแรงงานที่เพิ่มมากขึ้นแล้วจึงทำให้ค่าแรงของแรงงานเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยทำให้อัตราการการขูดรีดของแรงงานลดลง และอัตรากำไรของนายทุนตกต่ำลง โดยที่อัตราการขูดรีดของแรงงานนั้นเป็นอัตราส่วนระหว่างมูลค่าส่วนเกินของผลผลิตและค่าจ้างของแรงงาน ส่วนอัตรากำไรของนายทุนนั้นเป็นอัตราส่วนระหว่างอัตราการขูดรีดของแรงงานและต้นทุนในหารผลิตซึ่งก็คือต้นทุนจากปัจจัยการผลิตและจากค่าจ้างแรงงาน
ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้อัตรากำไรของนายทุนมีค่าเพิ่มมากขึ้นนายทุนจึงต้องพยายามเพิ่มอัตราการขูดรีดและลดต้นทุนในการผลิตลง เพื่อที่จะไม่ให้อัตรากำไรเฉลี่ยในระยะยาวลดต่ำลง วิธีการที่สามารถทำได้ก็คือการสะสมทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรใหม่ เข้ามาทดแทนการทำงานของแรงงาน หรือช่วยลดจำนวนการใช้แรงงานในการผลิตให้น้อยลง เรียกว่าเทคโนโลยีประหยัดแรงงาน หรือ Labor-saving technology ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการจ่ายค่าจ้างแรงงานให้น้อยลงได้ ทำให้นายทุนที่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในการผลิตสามารถทำกำไรในอัตราที่มากกว่านายทุนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ในสภาวะการแข่งขันของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม เมื่อนายทุนได้เห็นว่าว่าอัตรากำไรของนายทุนคนอื่นๆ ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อประหยัดแรงงานนั้นมีอัตรากำไรที่สูงกว่าตน ทำให้นายทุนในอุตสาหกรรมเดียวกันพยายามลอกเลียนและใช้เทคโนโลยีนั้นเช่นกันเพื่อรักษาระดับอัตรากำไรของตนไม่ให้ลดลง จึงส่งผลให้มีการทดแทนแรงงานในอุตสาหกรรมด้วยเครื่องจักรที่ประหยัดแรงงาน เหมือนกันทุกโรงงาน เมื่อทุกอุตสาหกรรมปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้เกิดแรงงานที่ว่างงานขึ้นเป็นจำนวนมากจากการใช้เทคโนโลยีในการผลิตเข้ามาแทนที่ แรงงานจำนวนมากที่ว่างงานนี้จึงเรียกว่ากองทัพสำรองผู้ว่างงาน
ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาแรงงานส่วนเกิน กลายเป็นกองทัพสำรองผู้ว่างงานขึ้นมา ทำให้นายทุนมีอำนาจในการต่อรองราคาแรงงานมากกว่าแรงงาน เนื่องจากมีแรงงานที่ว่างงานอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ค่าจ้างของแรงงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่ามูลค่าส่วนเกินที่นายทุนได้รับ เพราะถ้าหากมีแรงงานเรียกร้องขอค่าจ้างจากนายทุนเพิ่มมากเกินไป นายทุนก็จะเลิกจ้างแรงงานนั้นแล้วไปจ้างแรงงานที่อยู่ในกองทัพสำรองผู้ว่างงาน ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุทำให้แรงงานถูกกดขี่ ขูดรีดจากนายทุน มีสภาพความเป็นอยู่ที่แย่ลง
เพราะฉะนั้นเราอาจสรุปได้ว่าได้ว่ามาร์กซเชื่อว่าการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตของระบบทุนนิยมนั้นเกิดขึ้นเพียงเพื่อใช้ทดแทนการใช้พลังแรงงาน หรือลดอัตราการจ้างานลงนั่นเอง เพื่อเพิ่มอัตราการขูดรีดจากแรงงานและทำให้อัตรากำไรของนายทุนมีค่าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้คนงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แย่ลง ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตจึงเป็นการช่วยขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากแรงงานโดยนายทุนนั่นเอง
ในปัจจุบันนี้โลกภายใต้ระบบทุนนิยมที่มีการแข่งขันกันในการผลิตสินค้าและบริการ โดยมีทั้งกลุ่มธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่หรือกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ต่างก็มีการแข่งขันกันในการดำเนินธุรกิจอย่างดุเดือด ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อที่จะก่อให้เกิดสินค้าและบริการที่มีราคาถูกและคุณภาพที่ดีเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าคู่แข่ง ดังนั้นประเด็นทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาให้ทดแทนปัจจัยแรง งานเพื่อที่นายจ้างจะสามารถขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากแรงงานได้เพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดผู้ว่างงานเป็นจำนวนมากนั้นอาจจะไม่สามรถใช้ได้ในปัจจุบันนี้
จากแบบจำลอง Solo Growth Model สามารถอธิบายผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปคือ เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการผลิต จะทำให้แรงงานมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพใจการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น นั่นก็คือสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณมากขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณที่เท่าเดิมหรือมีการใช้ปัจจัยทุนในการผลิตต่อแรงงานที่ลดน้อยลงในการผลิตสินค้าในปริมาณเดิมเมื่อเทียบกับก่อนที่ยังไม่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ดังนั้นจึงทำให้รายได้ต่อหัวของประชาชนเพิ่มมากขึ้น มีการบริโภคเพิ่มมากขึ้น มีการออมหรือการลงทุนที่เพิ่มมาขึ้นเช่นกัน อันเป็นที่มาของการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแบบจำลอง Solo Growth Model นี้แตกต่างจากแนวความคิดของมาร์กซที่เชื่อว่าการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตของระบบทุนนิยมนั้นมีจุดประสงค์เพียงแค่ต้องการลดปริมาณการใช้แรงานของคนงานลง ทำให้นายทุนขูดรีดมูลค่าส่วนเกินเพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดปัญหาผู้ว่างงานเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันเราพบว่าปัญหาการว่างงานไม่ได้เกิดจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยหลายๆอย่างในการก่อให้เกิดการว่างงานขึ้นในระบบเศรษฐกิจอาทิการลงทุนที่ลดน้อยลง การบริโภคของประชาชนที่ลดน้อยลง ปัจจัยต่างๆเหล่านี่ก็มีส่วนให้เกิดการว่างงานเพิ่มมากขึ้นได้มิใช่เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว
อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบทุนนิยมยังก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เข้ามาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ทำให้มนุษย์ในสังคมปัจจุบันมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิมจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารคือโทรศัพท์มือถือ แต่เดิมโทรศัพท์มือถือนั้นมีขนาดของเครื่องที่ใหญ่ และมีราคาที่แพงมากอีกด้วย อีกทั้งการรับส่งสัญญาณยังใช้ได้เฉพาะบางจุด ไม่ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั่วประเทศเหมือนในปัจจุบันนี้ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมใช้ ต่อมาเมื่อมีการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือ มีการตั้งเสารับส่งสัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศ มีการพัฒนาการผลิตโทรศัพท์มือถือทำให้ขนาดของเครื่องค่อยๆเล็กลงมา มีการพัฒนาหน้าจอโทรศัพท์จากจอขาวดำเป็นจอสี พัฒนาเสียงเรียกเข้าให้เป็นเสียงเพลงเหมือนในปัจจุบัน มีการเพิ่มลูกเล่นต่างๆเข้าไปเช่น สามารถใช้ฟังเพลงได้ใช้เป็นกล้องถ่ายรูปได้ สามารถรับส่งอีเมล์ได้ สามารถเปิดใช้งานอินเตอร์เน็ทจากโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าราคาของโทรศัพท์มือถือที่มีฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ เหล่านี้จะมีราที่แพงเมื่ออกสู่ตลาดในครั้งแรก ต่อมาราคาก็จะค่อยๆลดลงมาตามระยะเวลา ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผู้ผลิตรายอื่นนั้นมีการผลิตที่เลียนแบบทำให้ราคาลดลง ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องคิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อที่จะให้มีผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่สามารถใช้งานได้มากกว่าเดิมเช่นการเพิ่มความละเอียดของกล้องในโทรศัพท์มือถือ สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ทความเร็วสูงกว่าเดิม สิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้โทรศัพท์มือถือที่ผลิตออกมสู่ตลาดมีราคาที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตนั้นจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของตัวสินค้าเองและยังก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆมาเสริมสร้างความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน หาใช่แต่เพียงเพื่อต้องการนำมาทดแทนแรงงานเท่านั้นเพื่อขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากแรงงานเสมอไปดังความเห็นของมาร์กซ
ในประเด็นที่ว่าการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆจะเป็นการขูดรีดแรงงาน ทำให้คนงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แย่ลงนั้น ในสถิติรายได้ต่อหัวของประเทศไทยแยกรายจังหวัดจะพบว่าจงหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมมาก่อตั้งมีการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้นจะมีระดับรายได้มากกว่าจังหวัดอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่นในภาคเหนือก่อนมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขึ้นในจังหวัดลำพูนพบว่า รายได้ต่อหัวของประชาชนในจังหวัดลำพูนมีรายได้มากเป็นอันดับสามของภาครองจากเชียงใหม่และลำปาง แต่ภายหลังเมื่อมีนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเกิดขึ้นทำให้รายได้ต่อหัวของจังหวัดลำพูนเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ในอันดับที่หนึ่งของภาค อีกทั้งยังมีการจ้างงานเป็นจำนวนมาก มีการอพยพของแรงงานจากจังหวัดต่างๆในภาคเหนือเข้าไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดลำพูนเป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่บริเวณรอบๆนิคมอุตสาหกรรมลำพูนกลายเป็นย่านธุรกิจขนาดใหญ่ของลำพูนแทนที่พื้นที่ในตัวเมืองลำพูนเอง มีการเปิดให้บริการของธุรกิจต่างๆ เนื่องจากแรงงานได้รับค่าจ้างที่สูง ทำให้มีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น แรงงานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ระบบเศรษฐกิจมีปริมาณเงินที่หมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดของมาร์กซเรื่องกองทัพสำรองผู้ว่างงานไม่สามารถใช้ได้กับระบบทุนนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีนั้นไม่ได้ใช้เพียงเพื่อนำมาทดแทนการใช้แรงงาน หรือการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากแรงงาน แต่ว่าเทคโนโลยีนั้นจะช่วยในการเพิ่มรายได้ต่อหัวของประชาชน เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ และยังอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ และปัญหาการขูดรีดส่วนเกินหรือการจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับแรงงานในปัจจุบันที่ทำการผลิตให้แก่นายทุนขนาดใหญ่เนื่องจากมีกฎหมายว่าด้วยค่าแรงขั้นต่ำคุ้มครองอยู่ เพราะการจ้างงานของนายทุนขนาดใหญ่เหล่านี้ถูกดูแลจับตามองอย่างใกล้ชิดทำให้แรงงานมีรายได้ที่ดี มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีไม่ยากจนแร้นแค้นดังที่มาร์กซได้กล่าวเอาไว้

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551

อดัม สมิธ กับการค้าเสรีในโลกปัจจุบัน

แนวความคิดของ อดัม สมิธ ในหนังสือ The Wealth of Nations ตอน “Of restraint upon the importation from foreign countries of such goods as can be produced at home” สามารถสรุปได้ดังนี้คือ อดัม สมิธ เชื่อว่า การกำหนดห้ามนำเข้าสินค้า หรือการตั้งกำแพงภาษีสูงกับสินค้าที่สามารถผลิตได้ในประเทศ เป็นการทำให้เกิด Dead Weight Loss ขึ้นภายในประเทศ เนื่องจากสินค้าที่ผลิตในประเทศนั้นมีต้นทุนสูงกว่าสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ว่าเมื่อเกิดการห้ามนำเข้า หรือการตั้งกำแพงภาษีสินค้าสูง จะทำให้ประชาชนในประเทศต้องซื้อสินค้าที่มีราคาแพงกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศหรือสินค้านำเข้าที่ปราศจากการเก็บภาษี เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้นประชาชนก็จะบริโภคน้อยลง ทำให้ส่วนเกินผู้บริโภค(Consumer Surplus) ลดลง แต่ผู้ที่จะได้รับประโยชน์นั้นก็คือผู้ผลิตสินค้าในประเทศ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตในประเทศไม่ต้องปรับตัวในการผลิตเพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตอื่นๆจากต่างประเทศเนื่องจากมีการห้ามนำเข้าหรือการตั้งภาษีสินค้าไว้สูงดังนั้น จึงทำให้ไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตขึ้นภายในประเทศเพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตต่างประเทศ และจะนำไปสู่การผลิตแบบผูกขาดขึ้น
ดังนั้นอดัม สมิธ จึงสนับสนุนให้มีการค้าอย่างแสรี ยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้า และยกเลิกการเก็บภาษี เพราะเห็นว่าการเปิดการค้าเสรีนั้นจะไม่กระทบต่อภาคการผลิตภายในประเทศมากนักโดยยกตัวอย่างการผลิตในภาคการเกษตร
ย้อนกลับมามองรูปแบบการค้าของโลกในปัจจุบันนี้ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก ซึ่งสืบเนื่องมาจากการที่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาขึ้นมามาก อาทิเช่น ระบบอินเตอร์เน็ท มาช่วยในการติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น และช่วยทำให้การทำสัญญาซื้อขายไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางมาเจอกันโดยตรงได้ และการขนส่งมีประสิทธิภาพทำให้มีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถทำได้รวดเร็วกว่าในอดีตมาก จึงทำให้มีการจัดตั้งบรรษัทข้ามชาติ(Multinational corporation) ขึ้นมา
บรรษัทข้ามชาติเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศและออกไปลงทุนต่างประเทศด้วย เหตุผลที่การลงทุนในต่างประเทศก็เป็นเพราะว่า จะสามารถลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงไปได้เป็นอย่างมากอาทิเช่นต้นทุนทางด้านแรงงาน ซึ่งรวมไปถึงการที่บริษัทสามารถผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่างๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า ในขณะที่ประเทศประเทศหนึ่งนอนหลับอยู่ การผลิตในอีกประเทศก็กำลังดำเนินการตามขั้นตอนอยู่เรื่อยๆ ไม่มีวันหยุดอีกทั้งข้อดีของบรรษัทข้ามนั้นจะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตการประเทศที่พัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา
การที่โลกในปัจจุบันนี้มีการค้าที่เปิดเสรีค่อนข้างมาก ทำให้เกิดข้อดีในการค้าเสรีคือ การผลิตสินค้าเป็นการใช้ทรัพยากรการผลิตได้อย่างคุ้มค่าเพราะว่าผู้ที่จะผลิตสินค้าได้ในระบบการค้าเสรีคือผู้ที่มีการใช้ทรัพยากรในการผลิตได้อย่างคุ้มค่ามากทีสุด มีต้นทุนในการผลิตต่ำสุดหรือกล่าวได้อีกแบบหนึ่งว่าเป็นผู้ผลิตที่มีความได้เปรียบเชิงสัมพัทธ์ (Comparative Advantage)
ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงสัมพัทธ์(Comparative Advantage) เป็นแนวความคิดของเดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) โดยพัฒนามาจากทฤษฎีความได้เปรียบเชิงสัมบูรณ์ของอดัม สมิธ โดยตามข้อเขียนเดิมของริคาร์โดนั้น เขาได้อธิบายแนวคิดดังกล่าวในรูปของต้นทุนเชิงสัมพัทธ์ (Comparative Cost) กล่าวคือ การค้าระหว่างประเทศ เกิดจากการที่ประเทศคู่ค้าผลิตสินค้าอย่างเดียวกันจำนวนเท่ากันด้วยจำนวนแรงงาน (ต้นทุน) ต่างกัน ภายหลังจอห์น สจ๊วต มิลล์ ได้เปลี่ยนวิธีการวิเคราะห์จากต้นทุนเชิงสัมพัทธ์มาเป็น การได้เปรียบเชิงสัมพัทธ์ (Comparative Advantage) ซึ่งก็คือ ผลผลิตเชิงสัมพัทธ์ นั่นเอง นั่นคือการที่ใช้ต้นทุนในการผลิตเท่ากันแต่ผลผลิตที่ผลิตได้นั้นต่างกัน ดังนั้นข้อสรุปของทฤษฎีนี้คือ ประเทศที่มีความได้เปรียบสัมพัทธ์ในการผลิตสินค้าในสินค้าหนึ่งก็ควรที่จะผลิตสินค้านั้นที่ตนเองมีความได้เปรียบเชิงสัมพัทธ์ และเลิกการผลิตสินค้าชนิดอื่นที่ไม่มีความได้เปรียบเชิงสัมพัทธ์ และนำสินค้าที่ตนเองผลิตได้นั้นนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าจากต่างประเทศ ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการค้าระหว่างระหว่างประเทศจะทำให้เกิดเทคโนโลยีในการผลิตใหม่ขึ้นมาใช้ในการผลิต เพื่อความอยู่รอดของผู้ผลิตเองที่จะสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นได้ภายใต้ระบบการค้าเสรี ทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตขึ้นจากการผลิตที่มีประสิทธิภาพและจากการที่ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบสัมพัทธ์ อีกทั้งการค้าเสรีโดยไม่มีการเข้ามาแทรกแซงจากรัฐบาล อาทิเช่น การเก็บภาษีสินค้านำเข้าและส่งออก หรือการห้ามนำเข้า จะเป็นการทำให้กลไกตลาดสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยจะสามารถแสดงให้เห็นปริมาณความต้องการซื้อ ความต้องการขาย และราคาที่แท้จริงได้
ตัวอย่างบรรษัทข้ามชาติที่อยากจะยกตัวอย่างมา ณ ที่นี้คือ กรณีของเทสโก้โลตัส ซึ่งเป็นบรรษัทข้ามชาติทางด้านธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากประเทศอังกฤษ และกำลังรุกขยายสาขาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในขณะนี้ ถึงแม้ว่าจะโดนต่อต้านอย่างมากจากลุ่มธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นของไทย ที่ออกมาคัดค้านการขยายสาขาจากห้างค้าปลีกนี้ แต่ถ้ามองมุมของผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคย่อมเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการเข้ามาของเทสโก้โลตัส เพราะสามารถซื้อของอุปโภคบริโภคในราคาที่ถูกลง เนื่องจากการที่เทสโก้โลตัสเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถเจรจาลดต้นทุนสินค้าที่นำมาจำหน่ายในห้างจากผู้ผลิตได้อีกทั้งยังมีระบบบริหารจัดการในการจัดส่งสินค้าที่ดี สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นส่วนที่ช่วยให้สามารถลดต้นทุนของสินค้าลงได้ ดังนั้นจึงสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้ในราคาที่ถูก ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยควรจะปรับตัวในการดำเนินธุรกิจเช่น ผู้ค้ารายย่อยควรจะมีการวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งให้เป็นเครือข่ายเดียวกันเพื่อที่จะมีอำนาจต่อรองราคาสินค้ากับผู้ผลิตที่จะเป็นการช่วยลดต้นทุนทางด้านราคาของสินค้าในการจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคต่อไป การปรับสภาพภายในของร้านค้าให้สะอาด ดูดีน่าเข้ามาใช้บริการ มิใช่แต่จะคอยคัดค้านการขยายสาขาดังที่เป็นข่าวในปัจจุบัน ดังนั้นหากผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยสามารถปรับปรุงการบริการและระบบการจัดการเพื่อให้มีต้นทุนในการดำเนินงานที่ลดลงได้ก็จะสามารถอยู่ในการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกนี้ได้ จะเห็นได้ว่าการเข้ามาดำเนินธุรกิจของเทสโก้โลตัสนั้นมีข้อดีอยู่หลายประการ เช่น ทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง เพิ่มการจ้างงานภายในประเทศ แต่ควรมีการออกกฎเกณฑ์ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด มีกติกาที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้บรรษัทข้ามชาติเหล่านั้นเอาเปรียบผู้ผลิตเช่น การกดราคาสินค้าจากผู้ผลิตมากเกินไป หรือการเอาเปรียบแรงงานเช่นมีการจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม และกฎเกณฑ์ต่างๆเหล่านี้จะต้องใช้หลักเกณฑ์ในการควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจการค้าปลีกทั้งผู้ประกอบการในประเทศหรือกลุ่มทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
แต่ปัญหาในการเปิดการค้าเสรีนั้นก็คือ ยังมีการกีดกันทางการค้ากันอยู่ทั้งการกีดกันที่เป็นภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี เพื่อให้ประเทศของตนเองได้ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่นกรณีกุ้งกับเต่า ที่ไทยมีกรณีพิพาทกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งห้ามนำเข้ากุ้งไทยโดยใช้เรื่องการอนุรักษ์เต่าเป็นข้ออ้างและประเทศต่างๆรวมทั้งไทยจะสามารถส่งออกกุ้งมายังสหรัฐอเมริกาได้ก็ต่อเมื่อมีการติดตั้งเครื่องมือแยกเต่าทะเล(Turtle Excluder Devices : TEDs) เพื่อเป็นการปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งของสหรัฐอเมริกา ซึ่งไทยเห็นว่าการใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวของสหรัฐอเมริกาเป็นการกีดกันทางการค้าซึ่งขัดกับหลักเกณฑ์การค้าเสรีที่ได้บัญญัติไว้ในข้อตกลงGATT ดังนั้นจึงมีการยื่นกรณีพิพาทดังกล่าวให้แก่องค์การการค้าโลกในการช่วยตัดสินกรณีพิพาทระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาโดยมีประเทศที่ร่วมกับไทยในการฟ้องสหรัฐอเมริกาก็คือมาเลเซีย อินเดีย และปากีสถาน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมเพราะฉะนั้นการจัดตั้งองค์การค้าระหว่างประเทศก็เพื่อที่จะดูแลช่วยลดอุปสรรคทางการค้าและแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีมากที่สุด
องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นองค์การนานาชาติ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเนื้อหาสาระความตกลงต่างๆ ภายใต้องค์การการค้าโลกจะอยู่ในหนังสือ กรรมสารสุดท้ายรวบรวมผลการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย(Final Act : Embodying the Results of the Uruguay Round of Multilateral Trade Negotiations) ซึ่งจะมีหลักการสำคัญในการกำกับดูแลการค้าระหว่างประเทศคือ หลักการไม่เลือกปฏิบัติ หลักความโปร่งใส หลักการในการใช้เหตุผลในการควบคุมการนำเข้าและส่งออก ข้อจำกัดเพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน มาตรการฉุกเฉิน หลักการในการผูกพันภาระภาษี และหลักการในการระงับข้อพิพาท โดยหลักการต่างๆเหล่านี้จัดตั้งไว้เพื่อเป็นกฎระเบียบและข้อบังคับเพื่อให้การค้าของโลกเข้าใกล้ระบบการค้าอย่างเสรีให้มากขึ้นจากการให้ลดภาษีศุลกากร หรือการยกเลิกมาตรการกีดกันอื่นๆที่มิใช่ภาษี และเพื่อให้การค้าระหว่างประเทศดำเนินไปอย่างเป็นธรรม ไม่ให้ประเทศใหญ่ได้เอาเปรียบประเทศเล็กได้ถ้าหากมีข้อพิพาททางการค้า ซึ่งจะมีหน่วยงานขึ้นมาดูแลในการระงับหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือการลงเสียงในการออกมติก็เป็นการลงคะแนนโดยทุกประเทศจะมีหนึ่งคะแนนเสียงเท่าเทียมกันไม่ว่าประเทศนั้นจะเป็นประเทศใหญ่หรือเป็นประเทศเล็กก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันภายใต้การเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก
ทางด้านการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรี ซึ่งส่วนใหญ่นั้นก็คือพวกผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สามารถปรับตัวเพื่อลดต้นทุนในการผลิตทำให้ไม่สามารถทำการแข่งขันในตลาดโลกได้ รัฐบาลควรที่จะเข้ามาดูแลการเปิดการค้าเสรีซึ่งควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากหมวดการผลิตที่เรามีความได้เปรียบก่อน และค่อยเปิดการค้าเสรีในหมวดที่เราไม่สามารถแข่งขันได้โดยค่อยๆลดภาษีศุลกากรลงหรือค่อยๆขยายปริมาณโควตาให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะให้ผู้ผลิตในประเทศได้มีเวลาปรับตัวในการผลิต หรือให้โอกาสผู้ผลิตได้เปลี่ยนไปผลิตสินค้าชนิดอื่นที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ หรือให้การสนับสนุนในการให้คำแนะนำการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้เพื่อทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง การที่ออกกฎหมายเพื่อให้มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นว่าต้องเป็นคนในประเทศเท่าไหร่ การกำหนดให้ผู้ผลิตต้องมีการดูแลสภาพแวดล้อมที่ได้รับความเสียหายจากการผลิตสินค้านั้นๆ เพื่อไม่ให้นายทุนผู้ผลิตทั้งบรรษัทข้ามชาติและทุนท้องถิ่นในประเทศเอากำไรส่วนเกินจากตรงนี้ไปได้มากนัก ควรจะมีผลประโยชน์คืนแก่สังคมโดยรวมบ้าง
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าแนวความคิดของอดัม สมิธ ที่สนับสนุนให้มีการค้าอย่างเสรีได้รับการสนับสนุน และสามารถนำมาใช้ได้จริงในยุคปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และเต็มไปด้วยบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ แต่เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการเอาเปรียบซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ หรือว่าจากบรรษัทข้ามชาติ หรือการได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า จึงมีการตั้งองค์กร หรือจัดตั้งกฎเกณฑ์ทางการค้าต่างๆขึ้น ซึ่งกฎเกณฑ์ที่จัดตั้งขึ้นไม่ใช้เพื่อเป็นการสร้างอุปสรรคทางการค้า แต่เพื่อทำให้การเปิดเสรีทางการณ์ค้าระหว่างประเทศเป็นธรรมแก่ทุกๆฝ่าย เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมให้ได้มากที่สุด